"...การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ในหลักใหญ่ก็ คือการควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันกาว ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็จะต้องมีน้ำกักเก็บไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้งมีคุณภาพเหมาะสมแก่การเกษตรการอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่าการพัฒนาแหล่งน้ำนั้นอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้วเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนสูญเสีย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งส่งผลกระทบกระเทือนแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง..." พระราชคำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในพิฐิปิตการประชุมวิฐาการนานาชาติ The Third Princess ChulabhornScience Congress (P C II) เรื่อง "น้ำและการพัฒนา : น้ำเปรียบตังชีวิต" ณ โรงแรมแซงกรี-ลา วันที่ 11 ธันวาคม พุทธศึกราช 2538
ในอดีตพื้นที่บริเวณรอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร เดิมเคยเป็น "เมืองหนองหารหลวง" ซึ่งเป็นเมืองเท่าสมัยขอมเรื่องอำนาจ มีการสร้างเนวคูเมือง สระเก็บน้ำ และคูส่งน้ำตามรูปแบบขอมโมราณ ต่อมาเกิดทุกข์ภัย ฝนแล้งอย่างรุนแรง และขาดแคลนพื้นที่ทำกิน เจ้าเมืองเขมรที่ปกครองอยู่จึงอพยพกลับถิ่นฐานเดิม ส่งผลให้เมืองหนองหารหลวงกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาได้มีผู้คนอพยพมาก่อตั้งเมืองขึ้นใหม่บริเวณที่ตั้งเมืองสกลนครในปัจจุบันนามเมือง "หนองหานหลวง" หมายถึง "เมืองแห่งหนองน้ำใหญ่อันอุดมสมบูรณ")