เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 นักวิจัยและนักสำรวจนก ได้พบนกหนูแดง นกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ยากน้อยคนจะได้เห็น โดยนกหนูแดงจัดเป็นนกอัญชันขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามหนองน้ำ พื้นที่ริมน้ำที่มีพืชน้ำปกคลุม ร่องสวน และพื้นที่เกษตรกรรม ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล แก้มและอกสีน้ำตาลแดง และไม่มีแต้มสีขาวบนปีก พบเห็นตัวได้ค่อนข้างยากถึงแม้จะมีจำนวนมากในบางพื้นที่ มักได้ยินเสียงบ่อยกว่าพบเห็นตัว โดยเสียงร้องเป็นทำนองลากยาวและแหลมสูง มักได้ยินเสียงในช่วงเช้าตรู่และใกล้ค่ำ ข้อมูลจาก https://ebird.org/ ภาพจาก Sakda sansupan
ในช่วงเดือนตุลาคม ถึง เดือนมีนาคม ของทุกปี ดอกบัวแดงในหนองหาน ซึ่งมีจำนวนมากจะงอกงามโผล่จากน้ำขึ้นมา โดยในเดือนตุลาคมบัวจะเริ่มแตกใบและเริ่มออกดอกตูมและบานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหนองหาร คึกคัก มีนักเที่ยวแวะมาเที่ยวชมจำนวนมาก ส่งผลเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และผู้ประกอบการเดินเรือ ทั้งนี้หนองหารยังมีศักยภาพที่โดดเด่นนั้นคือ นกน้ำที่มีหลากหลายชนิด และดอน ต่าง ๆ ทั้ง 52 ดอน ที่แปลกไม่เหมือนที่ใด
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567 รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมบุคลากรงานวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกิจกรรมล่องเรือชมบัวแดงส่องนก ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง "การยกระดับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การเป็นริสาหกิจเพื่อสังคมผ่านเครีอข่ายความร่วมมือทางธุรกิจกลุ่มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน" ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ ทะเลบัวแดง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุตรธานี ซึ่งเป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนากิจกรรมส่งสริมกลใกการตลาดเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจท่องเที่ยวกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วยกิจกรรมล่องเรือชมบัวแดงและนกพื้นถิ่น นกอพยพมากกว่า 279 ชนิด ชมวิถีชีวิตชุมชนรอบหนองหาร และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดอนหลวงซึ่งเป็นแหล่งรวมความเชื่อของชาวหนองหาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศร่วมกับภาคีเครือข่าย
พื้นที่ชุ่มน้ำทุกแห่งมีเรื่องราวเล่าขาน มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวของคุณ พื้นที่ชุ่มน้ำค้ำจุนและเป็นแรงบันดาลใจแก่มนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในทุก ๆ วัน ผู้คนทั่วโลกต่างร่วมมือกันเพื่อปกป้องระบบนิเวศที่ทรงคุณค่านี้
ความสวยงามของทุ่งบัวแดงที่ขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งจะบานในช่วงเช้า สัมผัสกับบรรยากาศความหลากหลายของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ บริเวณพื้นน้ำ ดอนลังกา หนองหาร จังหวัดสกลนคร
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา อาจารย์อรอนงค์ ขันเดช พร้อมบุคลากรงานวิจัยและบริการวิชาการได้นำการจัดการคามรู้เรื่องนกในพื้นที่หนองหาร ไปบริการวิชาการโดยการจัดนิทรรศการภาพนก ภายในงานวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคประชาสังคม