Loading...

ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการฝึกอบรมมัคคุเทศก์นำเที่ยวและวิทยากรการดูนกในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร

เมื่อวันที่ ๒๕ – ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมดุสิตา โรงแรมภูพานเพลซ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ท่านวีระ ฤกษ์วาณิชย์กุล เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ คุณค่าความสำคัญของนก ตลอดจนมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพผู้คนในพื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนคร มีผู้เข้าสนใจสมัครเข้าร่วมอบรม ทั้งสิ้น 50 คน ประกอบด้วย องค์กรสัตว์ป่าโลกสากล (WWF – แห่งประเทศไทย) ชมรมอนุรักษ์นกหนองหารสกลนคร การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสกลนคร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร และประชาชนทั่วไป โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นสองวัน ดังนี้ วันที่หนึ่ง เป็นการอบรมให้ความรู้พื้นฐานของการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น การเสวนาเรื่องคุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหนองหารจังหวัดสกลนคร การบรรยายวิชาการบรรยายหลักการถ่ายภาพและการดูนก และตำนานเรื่องราวต่าง ๆ การกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ชุ่มน้ำ และการแสดงนิทรรศการภาพถ่ายนกในพื้นที่หนองหาร วันที่สอง ลงเรือสำรวจเส้นทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนกในหนองหาร ใช้เรือจำนวน 4 ลำ โดยเริ่มเดินออกจากพิพิธภัณฑ์ภูพาน แล้วล่องเรือไปยังดอนลังกา ดอนสะคาม ดอนโพธิ์ ดอนสวรรค์พร้อมรับประทานอาหารกลางวันและเดินชมธรรมชาติดอนสวรรค์ จากนั้นล่องเรือไปยังดอนหิน ดอนทราย คูสุด และกลับมาที่ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์ภูพาน เพื่อระดมความคิดการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวการดูนกร่วมกัน จำนวน 1 เส้นทาง อันนำไปสู่การสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนคร ต่อไป

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าการสานตะกร้าพลาสติก และการแปรรูปปลา

เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคม 2564 คณะกรรมการศูนย์หนองหารศึกษาได้จัดกิจกรรมการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการสานตะกร้าพลาสติก และการแปรรูปปลา ของชุมชนบ้านนาดอกไม้ บ้านดอนเสาธง และบ้านโอนตาลโง๊ะ ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

เวทีสื่อสารทำความเข้าใจทิศทางการพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการ

เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2564 คณะกรรมการศูนย์หนองหารศึกษา ได้ลงพื้นที่ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจการดำเนินงานของศูนย์หนองหารศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

สารปรับปรุงดินอินทรีย์

การพัฒนาแนวทางการจัดการเปลือกหอยเชอรี่ สู่ "สารปรับปรุงดินอินทรีย์" เป็นการนำเศษเปลือกหอยเชอรี่ที่ถูกทิ้ง นำมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง โดยวิธีการนำหอยเชอรี่มาบดให้ได้ขนาดและความละเอียดที่เหมาะสมมาเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำสารปรับปรุงดินที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับการบำรุงพืช โดยความร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

แนวเขตหนองหาร

หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน พ.ศ. 2540 (นสล.) จังหวัดสกลนคร ได๎ท้าการส้ารวจพื้นที่เพื่อก้าหนดแนวเขตหนองหารอยํางจริงจังในชํวงพ.ศ. 2536 – 2539 เพื่อออกหนังสือส้าคัญส้าหรับที่หลวงส้าหรับที่สาธารณสมบัติของแผํนดินประเภทพลเมืองใช๎รํวมกัน พ.ศ. 2540 (นสล.) การก้าหนดแนวเขต นสล. ไมํมีความเหมาะสม ตามสภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพนิเวศวิทยาของชุมชน กลําวคือ ฝั่งตะวันออกในเขตต้าบลบ๎านแปูน ต้าบลนาตงวัฒนา แนวเขตหนองหารอยูํที่ความสูง 161 เมตร ระดับน้้าทะเลปานกลาง (ม.รทก.) หํางจากแนวน้้าชายฝั่งขึ้นไปบนบก 3-4 กิโลเมตร ขณะที่ฝั่งตะวันตกในเขตต้าบลฮางโฮงแนวเขต นสล.อยูํที่ความสูง 152 ม.รทก. หํางจากชายฝั่งไปในเขตน้้าหนองหารประมาณ 300–400 เมตร พื้นที่น้้าหนองหารทํวมถึง แตํมีการออกเอกสารสิทธิให๎ในเขต พรฎ. ก้าหนดเขตหวงห๎าม (ทศพล สมพงษ์, 2549) อ้างอิงในแผนแม่บทการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาหนองหารจังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2560 – 2564 ดูน้อยลง

การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน

เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๖๕ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหนองหาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับ องค์กร WWF SIDA สมาคมส่งเสริมการพัฒนาลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน และสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโครงการเวทีรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงวิชาการ เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แลกเปลี่ยนสถานการณ์พื้นที่ชุ่มน้ำจากเครือข่ายพื้นที่ชุ่มน้ำทั้ง 4 แห่ง (พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง กุดทิง น้ำสงครามตอนล่าง และหนองหาร) ระดมความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมเวที การเสวนาทางวิชาการ การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญจากนักวิชาการจากหลากหลายศาสตร์ ดังนี้ อาจารย์มงคล วงศ์กาฬสินธุ์ (ด้านระบบนิเวศน์นก) ดร.เชาวลิต วิทยานนท์ (ด้านทรัพยากรประมง) อาจารย์กิติมา ขุนทอง (ด้านทรัพยากรน้ำ) ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ (ด้านสังคม) ตัวแทนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมจังหวัดสกลนคร คุณยรรยง ศรีเจริญ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ดำเนินรายการโดย นายนิพนธ์ มุลเมืองแสน โดยมีตัวแทนจากชุมชนรอบหนองหาร 34 หมู่บ้าน ตัวแทนพื้นที่แรมซ่าร์ไซต์ในภาคอีสานตอนบน 3 แห่ง กลุ่มผู้นำ/นักวิชาการ/NGO/นักศึกษา - สำนักงานประมงจังหวัดสกลนครและศูนย์วิจัยฯ เครือข่ายองค์กรชุมชนในพื้นที่หนองหาร หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกว่า 80 คน ส่งผลให้เกิดกระบวนการดำเนินการต่อการแก้ไขปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาควิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ชุ่มน้ำ และสร้างกลไกการเป็นหุ้นส่วนต่อการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่นร่วม

การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๖๕ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหนองหาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมกับ องค์กร WWF SIDA สมาคมส่งเสริมการพัฒนาลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน และสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโครงการเวทีรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงวิชาการ เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ลงสำรวจสายพันธุ์นกรอบหนองหาร จังหวัดสกลนคร

อบรมนักสื่อสารสาธารณะ นักข่าวพลเมือง

เปิดกรอบความคิด มองหนองหารอย่างมีส่วนร่วม อบรมนักสื่อสารสาธารณะ นักข่าวพลเมือง สกลละเบ๋อ #ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหนองหาร #Thai PBS

การพัฒนาแนวทางการป้องกันเคมีคงค้างจากปล่อยของเสียของชุมชนและสารเคมีในภาคการเกษตร

เมื่อวันที่ 9 - 10 สิ่งหาคม พ.ศ. 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหนองหาร นำโดย ผ.ศ.ดร. ธนกร ราชพิลา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดกิจกรรม การพัฒนาแนวทางการป้องกันเคมีคงค้างจากปล่อยของเสียของชุมชนและสารเคมีในภาคการเกษตร หนองหารจังหวัดสกลนคร ภายใต้โครงการโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนด้วยองค์ความรู้ งานสร้างสรรค์ การวิจัย การบริการวิชาการ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ในพื้นที่ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ณ โรงเรียนบ้านนาดอกไม้ผดุงวิทยา ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ให้กับชุมชน นักเรียนโรงเรียนบ้านนาดอกไม้ผดุงวิทยา และเทศบาลตำบลฮางโอง ในการตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

การสำรวจความชุกและความหลากหายของนกพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร

เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมาศูนย์ความเป็นเลิศด้านหนองหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้ร่วมสำรวจความชุกและความหลากหายของนกพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร โดยการมีส่วนร่วมระหว่างองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA) ชมรมอนุรักษ์นกจังหวัดสกลนคร เครือข่ายภาครัฐ และเครือข่ายภาคประชาชน จากการสำรวจช่วงบริเวณตลอดริมฝั่งหนองหารตำบลท่าแร่ ไปจนถึง บ่อบำบัดน้ำเสีย อำเภอเมืองสกลนคร และเกาะดอนต่าง ๆ พบนกจำนวน 60 ชนิด ซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศหนองหาร ที่ควรคู่ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและธรรมชาติ แก่ลูก แก่หลานสู่การยกระดับสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

แปลงเกษตรลอยน้ำ

แปลงเกษตรลอยน้ำ บ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร เป็นที่หนึ่งที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่ และมีความเหมาะสมในการที่เป็นฐานทุนในการเกษตรเชิงนิเวศสู่การจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ โดยการนำแนวคิดจากชุมชนทะเลสาบอินเล มาประยุกต์ใช้ในการเกษตรลอยน้ำ ที่นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี

การศึกษารวบรวมสายพันธุ์นกและการกำหนดแนวเขตการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านหนองหาร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ "การศึกษารวบรวมสายพันธุ์นกและการกำหนดแนวเขตการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนกในพื้นที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร" วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสภานักศึกษา ชั้น 3 อาคาร 20 พบกับกิจกรรมภายในงาน - การศึกษารวบรวมสายพนั ธ์ุนกสู่การยกระดับการท่องเท่ียวเชิง นิเวศในพื้นที่หนองหารจังหวัดสกลนคร วิทยากรโดย -อาจารย์มงคล วงศ์กาฬสินธ์ุ -อาจารย์เพ็ญศรี ศรีแก้ว -นิทรรศการภาพถ่ายนก โดยชมรมอนุรักษ์นกหนองหาร จังหวัดสกลนคร - ลงพื้นที่สำรวจนก ดอนลังกา ดอนสะคาม ดอนหิน ดอนสวรรค์ ดอนโพธิ์ รายละเอียดเพิ่มเติม https://rdi.snru.ac.th/topics/17541 ดูน้อยลง